ในสมัยโบราณ การแต่งกายคือการแสดงความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้คนในสังคมนั้นจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เหมาะสม ไม่เทียมเจ้าเทียมนาย และไม่ทำให้เจ้านายขายขี้หน้า
ในจารีตการเข้าเฝ้าฯ พระมหากษัตริย์ หากพระมหากษัตริย์มิทรงฉลองพระองค์ ผู้เข้าเฝ้าก็มิพึงสวมเสื้อให้เทียมเจ้าเทียมนาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว พระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณจะมิทรงฉลองพระองค์อยู่เป็นปกติ ด้วยเมืองไทยเป็นเมืองร้อน (มาก) หากไม่มีการต้องทรงฉลองพระองค์ เช่น ออกรับแขกบ้านแขกเมือง ก็จะทรงเปลือยพระวรกายท่อนบนเสมอ ทรงแต่พระภูษา (ผ้านุ่ง) เป็นการเย็นพระวรกายดี
เว้นแต่ฤดูหนาว ซึ่งอากาศน่าจะหนาวกว่ากรุงเทพฯ สมัยนี้ พระองค์จึงจะทรงฉลองพระองค์ เมื่อทรงฉลองพระองค์แล้ว ข้าราชการที่เข้าเฝ้าก็พลอยได้สวมเสื้อไปด้วย ดีใจกันไปตาม ๆ กัน (ท่านว่ามีวิธีสังเกต คือถ้า "พระถัน (เต้านม) หด" เมื่อใด ข้าราชการไปเตรียมเสื้อกันได้เลย เพราะอีกไม่นานก็คงจะทรงเรียกฉลองพระองค์มาทรง)
ขอขอบคุณ ภาพจากละครบุพเพสันนิวาส
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น